อ.ตฤณ แจ่มถิน

ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของพิชากรค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่4

บันทึกอนุทิน
วันที่ 5 กรกฎาคม  2556
ครั้งที่4  เวลาเรียน  13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.10   เวลาเข้าเรียน 13.10  เวลาเลิดเรียน 16.40


สิ่่งที่ได้จากการเรียนวันนี้

         วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนองานมีทั้งหมด 9 กลุ่ม โดยกลุ่มที่1 ศึกษาในเรื่องการใช้ภาษาของเด็กปฐมวัย ซึ่งได้ไปดูการใช้ภาษาของเด็กที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมทำให้ทราบว่าเด็กมีความกล้าแสดงออกสามารถใช้ภาษาได้ดีเช่น ภาษาอังกฤษ สามารถท่องA-Z นับ 1-10 เป็นภาษาอังกฤษและร้องเพลงได้ จากการศึกษาทำให้รู้ว่าภาษาและการสื่อสารมีความสำคัญต่อมนุษย์อย่างยิ่งโดยเฉพาะการใช้ภาษาของเด็กปฐมวัยโดยเด็กจะมีการสื่อสารได้ดีเมื่ออยู่ร่วมกันกับเพื่อนทำให้เด็กรู้สึกไม่กลัวมีความกล้าแสดงออก   
        กลุ่มที่2 ได้ศึกษาและนำเสนอแนวคิดของนักทฤษฎีทางภาษาของเด็กปฐมวัยมีไวกอตสกี้ เพียเจย์ ฮอลลิเดย์ กู๊ดแมน จากแนวคิดของนักทฤษฎีทั้ง4 ทำให้รู้ว่าเด็กจะเรียนรู้ภาษาของตนเองจากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสภาพแวดล้อมโดยการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้างและสภาพแวดล้อมรอบๆตัวเด็กจะมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้และภาษาอย่างมากทำให้เด็กมีพัฒนาการทางภาษาที่ดี การเรียนรู้ที่ดีนั้นต้องเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงและเป็นไปอย่างธรรมชาติ  
        กลุ่มที่3 นำเสนอในเรื่องพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กแรกเกิด-2ปี ได้อธิบายถึงลักษณะและพฤติกรรมของเด็กตั้งแต่แรกเกิด-2ปีเช่นลักษณะท่าทางดีใจ เสียใจ ลักษณะความต้องการ แนวทางในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่พ่อแม่ควรรู้ การดูแลเด็กอย่างถูกวิธี เช่น การให้นม การจัดท่านอน การอุ้ม การเลือกของเล่นให้เหมาะกับเด็ก และในเรื่องการสื่อสาร พ่อแม่ไม่ควรให้เด็กท่องจำควรให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างถือเป็นการสื่อสารที่ดีที่สุด  
        กลุ่มที่4 เรื่องพัฒนาการด้านสติปัญญาเด็กอายุ2-4 ปี ได้ไปสัมภาษณ์และสังเกตเด็กที่โรงเรียนอนุบาล คหกรรมศาสตร์เกษตรเห็นได้ว่าเด็กมีการพูดโต้ตอบสนทนาได้เป็นอย่างดีแม้จะมีปฏิสัมพันธ์กับคนแปลกหน้า 
       กลุ่มที่5 ศึกษาพัฒนาการด้านสติปัญญาเด็กอายุ4-6ปี ได้ไปสัมภาษณ์น้องอนุบาล3 เด็กมีการสื่อสารได้ดีเมื่ออยู่กับเพื่อนแต่ถ้าผู้ใหญ่หรือคนแปลกหน้าถามจะไม่ค่อยพูด  เด็กในช่วงนี้เป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนา รู้จักสังเกต รู้จักชื่อของตนเอง ช่างคิดช่างถาม ชอบใช้คำถามว่า “ทำไม เด็กมักสนใจคำพูดของผู้ใหญ่ เล่าเรื่องราวต่างๆได้ดี  
       กลุ่มที่6 เรื่อง ทฤษฎีจิตวิทยาการเรียนรู้ กลุ่มนี้ได้ไปสัมภาษณ์น้องเจ อายุ 4 ปี น้องมีท่าทางที่เขินและเดินวนไปวนมา อยู่ไม่ค่อยนิ่ง เป็นเด็กกล้าพูดกล้าแสดงออกและสื่อสารออกมาตรงๆตามที่เข้าใจ เนื้อหาของกลุ่มนี้ที่นำเสนอ มีเรื่องของความหมายและแนวคิดทฤษฎีจิตวิทยาการเรียนรู้ จุดมุ่งหมายและองค์ประกอบสำคัญของกาเรียนรู้ การนำความรู้ไปใช้ได้รู้ว่าการเรียนรู้ของเด็กจะแตกต่างกันเป็นผลมาจากประสบการณ์ที่แตกต่างกันทำให้เราสามารถมีวิธีในการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพได้ 
      กลุ่มที่7 เรื่องวิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย กลุ่มนี้ได้ไปสังเกตเด็กที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมสังเกตการเล่น ไม่ว่าจะเป็นการเล่นคนเดียวหรือเล่นเป็นกลุ่ม วิธีการเรียนรู้การช่วยเหลือตนเอง เช่นกินข้าว ใส่ถุงเท้า รองเท้า และการเรียนรู้การเข้าสังคมทำให้รู้ว่าการเรียนรู้ของเด็กเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากการทำงานของโครงสร้างทางปัญญา 
        กลุ่มที่9 เรื่ององค์ประกอบด้านภาษาซึ่งได้อธิบายไว้ว่าภาษาประกอบไปด้วย เสียง ไวยกรณ์ ความหมาย และในเรื่องภาษาของเด็ก ได้รู้ว่าเด็กใช้เสียงในการสื่อสารให้คนอื่นเข้าใจเช่น เสียง “เฮะ” เด็กจะร้องเมื่อมีความรู้สึกไม่สบายตัว เปียกชื้น และเด็กฝรั่งพูดอีสานซึ่งเด็กจะเรียนรู้ได้ดีถ้าได้รับการฝึกฝน การอ่านของเด็กไม่ควรบังคับเด็กพ่อแม่ควรอ่านหนังสือที่เด็กชอบให้เด็กฟัง และกลุ่มสุดท้ายกลุ่มที่10 เรื่องหลักการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย ได้นำคลิปวีดีโอ การสอนภาษาแบบธรรมชาติ Whole Language มาจากโทรทัศน์ครูเป็นบทสัมภาษณ์ ดร.วรนาถ  รักสกุลไทย  ทำให้รู้ว่าการเรียนสอนครูไม่ควรคาดหวังกับเด็กมาก อย่าคาดหวังว่าเด็กจะต้องมีพัฒนาการที่เหมือนกันเพราะเด็กทุกคนมีความแตกต่างกัน เรื่องการเรียนครูต้องจัดการสอนให้เด็กได้เรียนตามความสนใจของเด็ก เรื่องการฟังและการอ่าน เช่น การเล่านิทานของครู ฝึกให้เด็กได้รู้ประโยคต่างๆ คำศัพท์ใหม่ๆเพิ่มมากขึ้นถ้าเด็กได้รับรู้การฟังการพูดของเด็กก็จะดีขึ้น และเรื่องการอ่าน การอ่านมีสองแบบคืออ่านอิสระและอ่านร่วมกันครูควรอ่านให้เด็กฟังและให้เด็กได้รู้วิธีอ่านและฝึกให้เด็กสะกดคำ

การนำความรู้ไปใช้
   -เรื่องพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กปฐมวัย เช่น ในเรื่องการใช้ภาษาไม่ว่าจะเป็นการอ่าน การร้องเพลง การแสดงบทบาทสมมติ สามารถนำไปใช้ในการจัดประสบการณ์ด้านภาษาของเด็กปฐมวัยได้อย่างถูกต้องเหมาะสมสอดคล้องกับช่วงอายุ 
  -สามารถนำความรู้ของนักทฤษฎีทางภาษาทั้ง 4 คน ไปปรับใช้กับการจัดการเรียนการสอนและในชีวิตประจำวันได้กับเด็กปฐมวัยได้ 
   -ทำให้รู้ถึงความต้องการของเด็ก ลักษณะพฤติกรรมของเด็กในการแสดงออกทางอารมณ์ ความรู้สึกและสามารถตอบสนองความต้องการนั้นได้อย่างเหมาะสม
  -เมื่อเด็กแสดงออกของพฤติกรรมต่างๆทั้งที่พึงประสงค์และไม่พึงประสงค์ทำให้เข้าใจและสามารถปรับตัวได้ดีเมื่ออยู่กับเด็ก


ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น