อ.ตฤณ แจ่มถิน

ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของพิชากรค่ะ

วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่5



บันทึกอนุทิน

วันที่ 12  กรกฎาคม  2556
ครั้งที่ 5   เวลาเรียน  13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน  13.10     เวลาเข้าเรียน 13.10     เวลาเลิกเรียน 16.40



สิ่งที่ได้จากการเรียนวันนี้

           วันนี้อาจารย์ได้ให้กลุ่มที่ยังไม่ได้นำเสนองานออกมานำเสนองาน โดยกลุ่มที่ออกมานำเสนอนำเสนอเรื่องพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กปฐมวัยตั้งแต่แรกเกิดถึง5 ปี  โดยกลุ่มนี้ได้อธิบายความหมายของพัฒนาการ องค์ประกอบของสติปัญญา และโครงสร้างของสติปัญญาซึ่งประกอบด้วยการรับรู้ ความจำและการเกิดความคิดเห็น หลังจากเพื่อนนำเสนอเสร็จก็ได้เปิดVDO การพัฒนาเด็กปฐมวัย ทำให้รู้ว่าวัยทารก คือแรกเกิดถึง2ขวบครึ่งจะมีการพัฒนาด้านต่างๆ ซึ่งการพัฒนาในช่วงนี้เป็นพื้นฐานสำคัญต่อด้านต่างๆ เป็นช่วงเวลาของการปรับตัวกับสภาพแวดล้อมใหม่ๆ เด็กจะมีอารมณ์ที่หลากหลายซึ่งมากกว่าผู้ใหญ่และเด็กวัยนี้จะใช้ปฏิกิริยาสะท้อนทำให้รู้ว่าถ้าเด็กไม่ได้รับการพัฒนาในวัยนี้จะแก้ไขได้ยาก หลังจากนั้นก็ได้เห็นตัวอย่างการทดลองลูกลิงกับแม่ลิงซึ่งการทดลองนี้ใช้แม่ลิงปลอมที่ทำจากผ้าให้อยู่กับลูกลิงตั้งแต่เล็กๆ ผลการทดลองทำให้รู้ว่า การขาดพ่อแม่ในวัยเด็กจะส่งผลต่อพฤติกรรมตอนโตได้ หลังจากที่เพื่อนนำเสนอเสร็จก่อนเริ่มเรียนอาจารย์ก็ได้มีกิจกรรมให้นักศึกษาทำแก้ง่วง โดยได้แจกกระดาษให้คนละแผ่นแล้วให้แต่ละคนวาดสิ่งของที่ตัวเองติดหรือรักมากในตอนเด็ก                                                                                          

 สำหรับข้าพเจ้าได้วาดรูปหมอนข้างไดโนเสาร์ เสร็จแล้วก็ได้ออกไปเล่าให้เพื่อนฟังว่าทำไมถึงติดสิ่งๆนี้ ข้าพเจ้าได้เล่าให้เพื่อนฟังว่าหมอนข้างนี้ได้มาตั้งแต่ยังไม่เกิดและข้าพเจ้าก็มีความสุขที่ได้กอดมันทุกครั้งก่อนนอนถ้าวันไหนไม่ได้กอดก็จะนอนไม่หลับ สิ่งที่ชอบเพราะคอของมันยาวมากทำให้เอาขาไปเกี่ยวคอของมันได้ จากกิจกรรมที่อาจารย์ได้ให้ทำนี้เป็นฝึกการพูดการบรรยายความรู้สึกสามารถนำไปจัดกิจกรรมการสอนกับเด็กได้ เป็นการฝึกให้เด็กกล้าแสดงออก ฝึกการพูดหน้าชั้นเรียนให้เด็กได้บรรยายสิ่งที่เคยทำหรือเคยพบเจอในอดีต

                  
                      เนื้อหาที่อาจารย์สอนได้ในวันนี้ เริ่มเรียนในเรื่ององค์ประกอบของภาษาซึ่งประกอบไปด้วย 1.Phonology ระบบเสียงของภาษา คือเสียงที่เปล่งออกมาเพื่อสื่อความหมาย 2.Semantic ความหมายของภาษาและคำศัพท์ ในหัวข้อนี้อาจารย์ได้ยกตัวอย่างคำศัพท์คำเดียวแต่ใช้ได้หลายความหมายและคำที่มีความหมายเหมือนกันแต่ใช้คำศัพท์ต่างกัน เช่น คำในภาษาลาว คิดว่าได้รับความรู้ที่ไม่เคยรู้มาก่อน 3.Syntax ระบบไวยกรณ์ คือการเรียงรูปประโยคทำให้รู้ว่าสำคัญมากเพราะถ้าเรียงผิดก็จะกลายเป็นอีกความหมายหนึ่งได้ 4.Pragmatic การนำภาษาไปใช้ ควรใช้ภาษาให้ถูกต้องตามสถานการณ์และกาลเทศะ ต่อมาได้เรียนเรื่องแนวคิดนักการศึกษา ประกอบไปด้วย 1.แนวคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยมมีทฤษฎีการเรียนรู้ของSkinner และ John B.Watson 2.แนวคิดกลุ่มพัฒนาการทางสติปัญญา มีทฤษฎีของPiaget และ Vygotsky ซึ่งทั้งสองคนนี้มีแนวคิดที่คล้ายกันคือเด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม 3. แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อเรื่องความพร้อมด้านร่างกาย เป็นทฤษฎีของ Arnold 
Gesell ซึ่งแนวคิดของกีเซล
จะเน้นด้านร่างกายของเด็ก 4. แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อว่าภาษาติดตัวมาตั้งแต่เกิด มีแนวคิดของNoam Chomsky และแนวคิดของ O.Hobart Mowrerเรื่องที่ได้เรียนต่อมาคือเรื่องแนวทางในการจัดประสบการณ์ทางภาษา ซึ่ง Richard and Rodget(1995)ได้แบ่งมุมมองต่อภาษาในการจัดประสบการณ์เป็น 3 กลุ่ม คือ 1.มุมมองด้านโครงสร้างของภาษา 2.มุมมองด้านหน้าที่ของภาษาและ3.มุมมองด้านปฏิสัมพันธ์ 

การนำความรู้ไปใช้
  -ทำให้รู้ว่าการขาดพ่อแม่ในวัยเด็กจะส่งผลต่อพฤติกรรมของเด็กในอนาคตอย่างมาก ดังนั้นเด็กควรได้รับความรักและการอบรมเลี้ยงดูจากพ่อแม่เป็นอย่างดีเพื่อในอนาคตเด็กจะได้มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์
  -จากกิจกรรมที่อาจารย์สั่งให้นักศึกษาวาดรูปสิ่งที่ตัวเองรักมากในตอนเด็กแล้วให้ออกไปพูดบรรยายความรู้สึกเป็นการฝึกความกล้าแสดงออกทำให้ได้ฝึกการพูดหน้าชั้นเรียนเพราะในอนาคตเมื่อจบไปประกอบวิชาชีพก็ก็จำเป็นต้องพูดหน้าห้องอยู่เสมอ และการวาดรูปสิ่งที่ตัวเองรักยังสามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมกับเด็กได้ด้วย โดยให้เด็กได้วาดรูปและฝึกความกล้าในการออกมาบรรยายหน้าชั้นเรียน
  -ทฤษฎีต่างๆสามารถนำมาปรับใช้กับเด็กได้อย่างเหมาะสมเพื่อให้สอดคล้องกับพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็ก






ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น