อ.ตฤณ แจ่มถิน

ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของพิชากรค่ะ

วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่6


บันทึกอนุทิน
วันที่ 19 กรกฎาคม  2556
ครั้งที่ 6   เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.10 น.      เวลาเข้าเรียน 13.10 น.    เวลาเลิกเรียน 16.40 น.

สิ่งที่ได้จากการเรียนวันนี้
         วันนี้ก่อนจะเริ่มเรียน อาจารย์ได้เปิดรูปที่มีการเอาคำมาประกอบเรียงกับรูปภาพเป็นประโยคให้ดูและอ่าน ซึ่งรูปภาพที่เอามาประกอบกับคำนั้นเป็นรูปของผลิตภัณฑ์ที่ทุกคนเคยเห็นเคยคุ้นตากันดี ทำให้เห็นแล้วสามารถอ่านเป็นประโยคได้


อ่านโดยการตีความจากภาพ

     ต่อมาอาจารย์ได้เริ่มสอนแนวทางการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย หัวข้อแรกที่ได้เรียนคือการจัดประสบการณ์ทางภาษาที่เน้นทักษะทางภาษา เพื่อให้เด็กรู้จักส่วนย่อยๆของภาษา รู้จักประสมคำ ความหมายของคำ การนำคำมาประกอบกันเป็นประโยค การแจกลูกสะกดคำ การเขียน การอ่านสะกดคำซึ่งอาจารย์ก็ได้บอกว่า การมาอ่าน มาท่องความจริงแล้วไม่เหมาะกับเด็กอนุบาลซึ่งไม่สอดคล้องกับธรรมชาติการใช้ภาษาของเด็ก  
   

          ต่อมาอาจารย์ได้พูดถึงแนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติของ Kenneth Goodman ซึ่งเป็นผู้เสนอแนวทางการสอนภาษาแบบธรรมชาติ โดยแนวทางการสอนนั้นมีพื้นฐานมาจากการเรียนรู้และธรรมชาติของเด็กโดยธรรมชาติของเด็กปฐมวัยจะมีลักษณะคือ ช่างสงสัย ช่างถาม มีความสนใจอยากรู้อยากเห็นสิ่งต่างๆรอบตัว มีความคิดสร้างสรรค์ ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆและชอบเลียนแบบคนอื่น และอาจารย์ก็ได้บอกอีกว่า แนวการสอนภาษาแบบธรรมชาตินี้มีมาเป็นร้อยกว่าปีแล้วและแนวการสอนนี้ก็เริ่มเข้ามาในประเทศไทยเมื่อ 20 กว่าปีมาแล้ว 
      อาจารย์ได้เปิดVDO ของ ดร.วรนาถ ซึ่ง VDO นี้เพื่อนที่เคยออกมานำเสนอเคยเปิดให้ดูแล้วแต่ยังดูไม่จบอาจารย์เลยเอามาให้ดูอีกครั้งเพราะเนื้อหาสำคัญและเหมาะแก่การเรียนรู้มาก ในVDO นี้ได้พูดถึงการเรียนภาษาแบบธรรมชาติ Whole Language โดยได้ไปสัมภาษณ์ ดร.วรนาถ ได้กล่าวไว้ว่า ทำอย่างไรให้เด็กอ่านออกเขียนได้ มีวิธีการเรียนการสอนแบบไหน และได้บอกไว้ว่า การสอนแบบธรรมชาตินั้นมีประโยชน์มากเพราะเน้นการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ครูจะต้องคิดและสอนเด็กให้เป็นธรรมชาติที่สุดและทำให้เด็กรู้สึกว่ามีภาษาอยู่รอบตัว เช่น ในห้องเรียนครูต้องจัดให้มีบอร์ดต่างๆติดตามผนังห้อง เพื่อให้เด็กเห็นสิ่งๆนั้นบ่อยๆอย่างเสมอ และในเรื่องการสอน ครูต้องสอนเด็กให้เป็นธรรมชาติมากที่สุด ต้องเปิดโอกาสให้เด็กได้เลือกต้องไม่ปิดกั้นความคิดของเด็กและครูต้องไม่คาดหวังให้เด็กมีพัฒนาการที่เหมือนกันทั้งห้องเพราะเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ครูต้องพร้อมที่จะพัฒนาศักยภาพของเด็ก โดยหน้าที่ของครูนั้น ครูต้องเป็นตัวอย่างการพูดการใช้ภาษาที่ดีให้กับเด็กเพราะเด็กจะเรียนรู้จากครูและเด็กอาจเลียนแบบการกระทำของครูและครูมีหน้าที่เขียนให้เด็กดู เวลาที่ครูเขียนและอ่านคำไหนต้องชี้ให้เด็กดู ต้องฝึกให้เด็กรู้จักวิธีการอานที่ถูกต้องคือจากซ้ายไปขวา การอ่านควรเริ่มอ่านจากหนังสือเล่มที่เด็กชอบมากที่สุด โดย ดร.วรนาถ ก็ได้แบ่งการอ่านออกเป็น 2 แบบ คือ การอ่านแบบอิสระและการอ่านรวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ 
       ในการจัดภาษาแบบธรรมชาติต้องบูรณาการได้ทุกกิจกรรม โดย ดร.ภัทรดรา ได้กล่าวไว้ว่าในการจัดกิจกรรมควรเน้นที่ความสนใจของเด็ก เด็กสนใจเรื่องไหนครูต้องจัดบูรณาการการเรียนรู้ให้กับเด็ก เช่น เด็กสนใจเรื่องกบครูจะจัดหน่วยการเรียนรู้เรื่องกบขึ้นมาแล้วบูรณาการเข้าสอนในเรื่องต่างๆ เช่น ครูสั่งให้เด็กๆกระโดดเป็นกบ ก็จะช่วยฝึกในเรื่องพัฒนาการทางด้านร่างกายและครูมีคำถามเช่น ถามเด็กว่าอาหารของกบ คืออะไร เด็กก็จะได้ฝึกการคิด การจำเพราะเมื่อเด็กไม่รู้คำตอบเมื่อกลับไปบ้านแล้วถามพ่อแม่ก็จะเป็นการฝึกการนำไปใช้ในการสื่อสาร เมื่อเด็กสื่อสารได้รู้เรื่องแสดงว่าเด็กมีทักษะการฟังที่ดีและต่อมาเมื่อเด็กตอบคำถามได้เด็กก็จะมีทักษะการพูดที่ดีอีกด้วย
    หลังจากที่ได้ดู VDO การสอนภาษาแบบธรรมชาติแล้ว อาจารย์ได้เริ่มสอนในหัวข้อ ทฤษฎีที่มีอิทธิพลต่อการสอนภาษาแบบธรรมชาติ มีของ Dewey , Piaget , Vygotsky , haliday  ลักษณะคือเด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์และการลงมือกระทำ เรียนรู้จากกิจกรรมการเคลื่อนไหวของตนเองและการได้สัมผัสจับต้องกับสิ่งต่างๆแล้วสร้างความรู้ขึ้นมาด้วยตนเอง  อิทธิพลของสังคมและบุคคลอื่น                       
           

       ต่อมาคือลักษณะของการสอนภาษาธรรมชาติ คือ แนวการสอนจะไม่เรียนเป็นรายวิชา เป็นการสอนแบบบูรณาการ มีการเรียนเป็นองค์รวมทั้งวันอย่างต่อเนื่อง สิ่งที่สอนจะสอนในสิ่งที่เด็กสนใจ สอนในสิ่งที่ใกล้ตัว จะมีการฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน ไปพร้อมกับการทำกิจกรรม จะไม่มีการเข้มงวดหรือบังคับเด็กให้เขียน
   หลักการของการสอนภาษาแบบธรรมชาติ มีดังนี้ คือ 1.การจัดสภาพแวดล้อม เช่นตัวหนังสือในห้องเรียนต้องมีเป้าหมายในการใช้ หนังสือที่ใช้ต้องใช้ภาษาที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัว
      2.การสื่อสารที่มีความหมาย คือเด็กจะสื่อสารได้ดีต่อเมื่อมีพื้นฐานจากประสบการณ์จริง เด็กอ่านเขียนอย่างมีจุดมุ่งหมาย  เด็กได้ใช้เวลาอ่านและเขียนตามโอกาส
    
  >> >ตัวอย่าง เมื่อเด็กถามว่า ช้อนเขียนอย่างไร ถ้าเป็นภาษาธรรมชาติเมื่อเด็กถามเราควรเขียนทั้งคำให้เด็กเห็นคำทั้งคำ
         3.การเป็นแบบอย่าง เช่นครูอ่านและเขียนโดยมีจุดมุ่งหมายในการใช้ให้เด็กเห็น ครูเป็นแบบอย่างที่ดีให้เห็นว่าการอ่านเป็นเรื่องสนุก เช่น เมื่อเจอสิ่งไหนก็อ่านให้เด็กฟังจะทำให้เด็กรู้สึกรักและอยากที่จะอ่าน
     
    >>>ในการอ่านก็ควรเลือกอ่านที่ถูกต้องให้กับเด็กเพราะภาษาในปัจจุบันมักมีแต่คำแปลกๆดังนั้นควรให้คำแนะนำที่ดีกับเด็ก ต้องระมัดระวังการใช้ภาษาให้มากๆ
     4.การตั้งความคาดหวัง ครูต้องเชื่อว่าเด็กสามารถพัฒนาได้แต่ต้องไม่คาดหวัง
     5.การคาดคะเน เด็กมีโอกาสที่จะทดลองกับภาษา เด็กได้คาดเดาคำที่จะอ่าน ต้องไม่คาดหวังให้เด็กอ่านออกเขียนได้
      6.การใช้ข้อมูลย้อนกลับ เช่น ตอบสนองความพยายามในการใช้ภาษาของเด็ก ยอมรับการอ่านและการเขียน ให้คำชมและความสนใจ
      7.การยอมรับนับถือ เด็กมีความแตกต่างกันคนไหนเก่งก็พัฒนาต่อไปคนไหนไม่เก่งก็ยกขึ้นมาให้ได้
เลือกกิจกรรมเรียนรู้ด้วยตนเอง  ไม่ทำกิจกรรมตามลำดับขั้นตอน
       8.การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น เช่น ให้เด็กรู้สึกปลอดภัยเมื่อได้ใช้ภาษา  ครูต้องทำให้เด็กไม่กลัวที่จะขอความช่วยเหลือ  ไม่ตราหน้าว่าเด็กไม่มีความสามารถ
       ต่อมาได้เรียนเรื่องบทบาทหน้าที่ของครู ซึ่งครูปฐมวัยต้องเป็นผู้ที่ถ่ายทอดความรู้ เป็นผู้อำนวยความสะดวก และเป็นผู้ร่วมทางการเรียนรู้ไปพร้อมกับเด็ก

   ก่อนจะจบในเนื้อหาของวันนี้อาจารย์ได้เปิดการเอารูปกับคำมาประกอบกันเป็นเพลง
                                                                        เพลง แปรงฟัน 

                                                                        เพลง ตา หู จมูก 

                                   เพลง แก้ว กะลา ขัน โอ่ง เป่าลูกโป่ง โอ่ง ขัน กะลา แก้ว

       อาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษาร้องและทำท่าประกอบด้วย ซึ่งกิจกรรมนี้เด็กสามารถอ่านได้โดยการตีความจากภาพ เป็นวิธีหนึ่งที่ใช้ให้เด็กได้เรียนรู้ภาษาได้ดี
        สุดท้ายก่อนเลิกอาจารย์ได้ชี้แจงนักศึกษาเรื่องบล็อกของแต่ละคนแล้วให้เพื่อนหนึ่งคนออกไปเปิดบล็อกแล้วทำเป็นตัวอย่างการสร้างบล็อกสำหรับคนที่ยังไม่ได้เพิ่มชื่อของตัวเองและเพิ่มชื่ออาจารย์ผู้สอน


การนำความรู้ไปใช้
     -สามารถนำวิธีการในการอ่านโดยตีความจากรูปภาพไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ทางภาษาได้ดีกับเด็กได้
      -เป็นแนวทางในการจัดประสบการณ์ทางภาษาให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยได้
     -เข้าใจบทบาทหน้าที่ที่ดีของครูปฐมวัย เมื่อจบไปประกอบวิชาชีพสามารถทำหน้าที่เป็นครูที่ดีได้
     -ทำให้รู้หลักการจัดการสอนภาษาแบบธรรมชาติเพื่อให้เด็กมีพัฒนาการทางภาษาที่ดี
     -ในการสร้างบล็อกได้รู้วิธีการลงชื่่่อของตัวเองและเพิ่มชื่ออาจารย์ผู้สอน





ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น