อ.ตฤณ แจ่มถิน

ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของพิชากรค่ะ

วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่7

บันทึกอนุทิน
วันที่  26 กรกฎาคม  2556
ครั้งที่7     เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.10 น.    เวลาเข้าเรียน 13.10 น.    เวลาเลิกเรียน 16.40 น.

สิ่งที่ได้จากการเรียนวันนี้
        วันนี้ก่อนเริ่มเรียน อาจารย์ได้แจกกระดาษเปล่าพร้อมสีแล้วให้วาดรูปอะไรก็ได้คนละ 1 อย่าง พอวาดเสร็จแล้วก็ให้แต่ละคนนำรูปที่ตัวเองวาดออกไปเล่าเป็นนิทานต่อๆกันให้เป็นเรื่องราว ซึ่งข้าพเจ้าก็ได้วาดรูปแมวสามตัว แล้วได้ออกไปเล่าเรื่องต่อจากเพื่อนที่วาดรูปหมีคุมะซึ่งกิจกรรมนี้ก็สนุกมากๆทำให้ได้ใช้จินตนาการเล่าเรื่องให้ต่อกันกับเรื่องของเพื่อนซึ่งเรื่องของเพื่อนบางคนที่ไม่น่าจะเล่าได้แต่เพื่อนก็สามารถเล่าออกมาได้สนุกและตลกมากๆ พอทุกคนออกมาเล่าจนครบแล้วอาจารย์ได้ถามว่าใครเล่านิทานได้ดีที่สุดซึ่งแต่ละคนก็เลือกไม่เหมือนกันและได้ถามต่อว่าใครวาดรูปได้สวยที่สุดเพื่อนในห้องก็ได้บอกว่าข้าพเจ้าวาดสวย อาจารย์ก็เลยเอารูปแมวที่ข้าพเจ้าวาดออกไปให้เพื่อนดู ซึ่งข้าพเจ้าก็ภูมิใจและดีใจมากๆ จากกิจกรรมวาดรูปนี้ทำให้รู้ว่าการวาดรูปของเด็กแต่ละคนจะวัดจากจินตนาการที่เด็กแต่ละคนสื่อออกมา


          ต่อมาเนื้อหาที่ได้เรียนในวันนี้คือเรื่องการประเมินเด็ก คุณครูสามารถประเมินได้จาก1.ใช้เครื่องมือในการประเมินที่หลากหลาย 2.เน้นที่ความก้าวหน้าของเด็ก เช่นบันทึกสิ่งที่เด็กทำได้เช่นการจับดินสอของเด็กเพื่อส่งเสริมให้เด็กก้าวไปสู่พัฒนาการในระดับที่สูงขึ้นได้ 3.ประเมินจากบริบทที่หลากหลาย เช่นเด็กบางคนคุยกับเพื่อนเก่งแต่พอออกมาพูดหน้าห้องทำไมจึงพูดไม่เก่ง 4.ให้เด็กมีโอกาสประเมินตนเอง เช่น ครูควรแปะผลงานเด็กไว้ตามผนังห้องเรียนเพื่อให้เด็กเห็นผลงานของตนเองและเพื่อนทำให้เห็นพัฒนาการของตนเอง 5.ครูให้ความสนใจทั้งกระบวนการและผลงาน คือครูที่ดีต้องไม่ดูแค่ผลงานเด็กไม่ควรตัดสอนเด็กเพียงด้านเดียว 6.ประเมินเด็กเป็นรายบุคคล ครูไม่ควรประเมินเป็นกลุ่ม
ต่อมาอาจารย์ได้เอารูปกากบาทให้ดูแล้วให้นักศึกษาในห้องแสดงท่าทีที่สื่อถึงสัญลักษณ์นี้ทำให้เหมือน แต่ละคนก็จะทำท่าไม่เหมือนกันเพราะมีความคิดที่แตกต่างกัน

ต่อมาอาจารย์ได้เอารูปจุดเก้าจุดให้ดู แล้วถามว่าทำอย่างไรจึงจะลากเส้นให้เป็นสี่เส้นและเส้นทางที่ลากต้องผ่านจุดทุกเก้าจุดมีข้อแม้ว่าห้ามยกปากกาในขณะที่ลากเส้น
กิจกรรมนี้ทำให้รู้ว่าครูที่ดีต้องรู้จักคิดนอกกรอบ

      ต่อมาคือตัวอย่างกิจกรรมส่งเสริมทักษะทางภาษา เช่น การเขียนตามคำบอก ช่วยเด็กเขียนบันทึก อ่านนิทานร่วมกัน เขียนประกาศแจ้งข่าว เตือนความจำ อ่านคำคล้องจอง ร้องเพลง เล่าสู่กันฟัง และการเขียนส่งสารถึงกัน

   อาจารย์ให้ดูภาพการจัดประสบการณ์ทางภาษาของเด็กอนุบาล โรงเรียนเกษมพิทยา


  >>  ให้เด็กตกแต่งรูปและบรรยายภาพสิ่งที่เด็กขีดเขียนลงไป

>>รูปที่ติดบนผนัง มีข้อตกลงต่างๆ เด็กจะได้เรียนรู้ภาษา

>>วิธีป้องกันอันตรายเด็กช่วยกันคิดร่วมกันในห้อง ครูมีหน้าที่เขียน เด็กได้เรียนรู้จากของจริง 
>>การเรียนรู้เรื่องไฟจราจร
>>เมื่ออยากให้เด็กเอาอะไรมาครูก็จะติดไว้

>>กิจกรรมงานประดิษฐ์ของเด็ก

>>บันทึกการเขียน จะเริ่มให้เด็กเขียนเมื่ออยู่อนุบาล3 ครูจะให้บันทึกได้อย่างอิสระตามคนสนใจของแต่ละคน ไม่บังคับ ไม่ปิดกั้นจินตนาการของเด็ก

>>ป้ายชื่อของเด็กไม่เพียงแต่แปะชื่อกับรูปอย่างเดียวแต่ยังมีคำบรรยายให้เด็กได้บรรยายถึงตัวเองอีกด้วย

>>แม้แต่คุณครูก็ยังมีป้ายชื่อและคำบรรยายของตัวเอง
   
    ก่อนจบอาจารย์ได้มีนิทานมาเล่าให้ฟัง เป็นนิทานเล่าไปวาดไป เรื่องแรกวาดออกมาเป็นรูปหมาป่า เรื่องที่สองเป็นรูปแมลงเต่าทอง
   สุดท้ายอาจารย์ได้สอนวิธีการลงเพื่มรายชื่อลิงค์โดยสั่งให้นักศึกษาทุกคนไปเพิ่มชื่่อเพื่อนสมาชิกกลุ่มที่102 ทุกคน ลงในบล็อกของตัวเอง


การนำความรู้ไปใช้
  -กิจกรรมการวาดรูปแล้วออกไปเล่าเป็นนิทาน สามารถนำไปจัดให้กับเด็กได้โดยเป็นการฝึกให้เด็กรู้จักใช้จินตนาการที่เด็กสื่อออกมาจากภาพวาดแล้วนำมาเล่าจะทำให้เด็กฝึกการคิด ฝึกไวพริบ การแก้ปัญหา และความกล้าแสดงออกเมื่อต้องออกมาพูดหน้าชั้นเรียนได้
  -สามารถมีวิธีในการประเมินเด็กเพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการในระดับที่สูงขึ้นได้
  -สามารถนำตัวอย่างกิจกรรมส่งเสริมทักษะทางภาษาไปปรับใช้ได้หลากหลายกับเด็กได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
  -เรื่องการเล่านิทานเล่าไปวาดไป สามารถนำไปใช้เล่าให้เด็กฟังและฝึกให้เด็กวาดตามได้ จะช่วยให้เด็กฝึกจินตนาการ รู้จักคิด และผลงานที่เด็กวาดและระบายสีเสร็จแล้วสามารถนำไปไว้สำหรับติดผนังห้องได้เด็กจะได้เห็นพัฒนาการของตัวเองและสามารถประเมินพัฒนาการของตัวเองได้
   -การเป็นครูที่ดีไม่จำเป็นต้องอยู่ในกรอบเสมอไป ต้องรู้จักคิดนอกกรอบบ้าง



ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น