อ.ตฤณ แจ่มถิน

ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของพิชากรค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่12

บันทึกอนุทิน

วันที่  กันยายน 2556
ครั้งที่  12  เวลาเรียน 13.10 – 16.40 .
เวลาเข้าสอน 13.10.   เวลาเข้าเรียน 13.10 . เวลาเลิกเรียน 16.40 .

สิ่งที่ได้จากการเรียนวันนี้


      วันนี้อาจารย์เดินเข้ามาในห้องพร้อมกับกระดาษ ฉันกับเพื่อนถึงกับตกใจเลยค่ะ คิดว่าวันนี้อาจารย์จะให้สอบ ทีไหนได้วันนี้อาจารย์เตรียมกระดาษมาให้นักศึกษาคัด ก-ฮ ท้ายคาบกันค่ะ และวันนี้ก่อนที่จะเริ่มเรียนกันอาจารย์ก็ขอตัวแทนออกมาเล่นเกมหน้าห้องกันค่ะ มีเพื่อนออกไปเล่นเกมทั้งหมด 6 คน อาจารย์ก็ให้จับฉลาก ซึ่งฉลากที่เพื่อนออกไปจับนั้นข้างในจะเป็นชื่อสัตว์ชนิดต่างๆใครที่จับได้สัตว์ชนิดไหนก็ต้องออกไปทำท่าพร้อมเสียงของสัตว์ชนิดนั้นๆ สัตว์ที่เพื่อนทั้ง 6 คนจับได้ก็มี ควาย งู ช้าง หมา ชะนี และลิง  ซึ่งเพื่อนบ้างคนก็ทำท่าทางและเสียงของสัตว์ชนิดนั้นๆได้ตลกจริงๆเลยค่ะโดยเฉพาะเสียงชะนีที่ต้องร้องว่า    “ ผัว ผัว ทำให้ฉันหลุดหัวเราะออกมาทันทีเลย  และเพื่อนๆที่ออกไปเล่นเกมก็จะได้คนละ1ปั๊มด้วยค่ะ      ซึ่งจากกิจกรรมนี้ก็ทำให้ฉันรู้ว่าภาษาก็สามารถเรียนรู้ได้จากท่าทางและเสียงได้อีกด้วย


 เพื่อนออกไปเลียนแบบท่าทางและเสียงของสัตว์ต่างๆ




ต่อมาอาจารย์ได้เปิดรูปภาพการใช้ภาษาที่อ่านแล้วก็งงๆ ให้ดูแก้เครียดกันก่อนจะเข้าเนื้อหาในวันนี้

         
    มาเข้ากันที่เนื้อหาที่ได้เรียนในวันนี้กันค่ะ วันนี้อาจารย์ได้สอนในหัวข้อการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมประสบการณ์ทางภาษา 


     ในการจัดสภาพแวดล้อมคือต้องสร้างสภาพแวดล้อมให้เด็กคุ้นเคยกับการใช้ภาษาอย่างมีความหมายและเป็นองค์รวมคือไม่สอนเนื้อหาเป็นรายวิชาต้องมีการสอดแทรกความรู้ไปโดยที่เด็กไม่รู้ตัวลงไปด้วยทุกๆด้าน และเด็กได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางภาษาโดยไม่เน้นเนื้อหาทางภาษา

หลักการในการจัดสภาพแวดล้อม(หรรษา นิลวิเชียร,2535)     
  -สอดคล้องกับวิธีการการเรียนรู้ของเด็ก ส่งเสริมให้เด็กสำรวจปฏิบัติจริงเป็นผู้กระทำด้วยตนเอง เปิดโอกาสให้เด็กเป็นอิสระได้สังเกตและตั้งสมมติฐาน        

 -สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับบุคคลรอบข้าง เด็กควรได้สื่อสารสองทางคือเด็กต้องมีการโต้ตอบหรือตอบสนองกัน                   

-สิ่งแวดล้อมที่เน้นความหมายมากกว่ารูปแบบ ควรยอมรับการสื่อสารของเด็กในรูปแบบต่างๆโดยคำนึงถึงความหมายที่เด็กต้องการสื่อมากกว่าความถูกต้องทางไวยกรณ์          

  -สิ่งแวดล้อมที่ประกอบด้วยความหลากหลายทั้งด้านวาจาและไม่ใช่วาจาเด็กควรได้รับการมีประสบการณ์และปฏิสัมพันธ์หลายๆรูปแบบเช่น เด็กได้ภาษาผ่านผลงานผ่านการจัดประสบการณ์ที่หลากหลาย 

มุมประสบการณ์ที่สนับสนุนการเรียนรู้และสาระทักษะทางภาษา เช่น  มุมหนังสือ  มุมบทบาทสมมติ มุมศิลปะ มุมดนตรี ฯลฯ
ลักษณะของการจัดมุมในชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษา มีลักษณะดังนี้
-มีพื้นที่ให้เด็กสามารถทำกิจกรรมได้
-เด็กรู้สึกผ่อนคลายเมื่ออยู่ในมุม
-บริเวณใกล้ๆมีอุปกรณ์เครื่องเขียน เช่น ดินสอ สี กระดาษ กรรไกร กาว
-เด็กมีส่วนร่วมในการวางแผนออกแบบ ครูไม่ควรออกแบบคนเดียว ทั้งครูและเด็กต้องร่วมมือกันจัดมุมเพื่อทราบความต้องการของเด็ก

มุมหนังสือ
-มีชั้นวางหนังสือประเภทต่างๆที่เหมาะสมกับวัย
-มีบรรยากาศที่สงบและอบอุ่น
-มีพื้นที่ในการอ่านลำพังและเป็นกลุ่ม
-มีอุปกรณ์สำหรับการเขียน เช่น ดินสอ แผ่นขาตั้งวาดรูป โต๊ะเล็กๆ เป็นต้น
มุมบทบาทสมมติ
-มีสื่ออุปกรณ์ที่เด็กสามารถเข้าไปเล่นได้
-มีพื้นที่ที่เพียงพอ
-มุมนี้ไม่จำเป็นต้องอยู่ในห้องเรียน มุมนอกห้อง เช่น มุมกลางแจ้ง มุมจราจร เป็นต้น

มุมศิลปะ
-จัดอุปกรณ์ที่หลากหลาย เช่น สีเมจิก ดินสอ ยางลบ ตรายาง ซองจดหมาย ฯลฯ
-กรรไกร กาว สำหรับงานตัดและปะติด
-ของที่มีอันตรายจำเป็นอย่างยิ่งที่จะบอกถึงอันตรายของสิ่งของนั้นๆเพื่อให้เด็กรู้และระมัดระวัง ครูจะต้องสร้างข้อตกลงวิธีการใช้อุปกรณ์ที่อันตรายเหล่านั้น
มุมดนตรี
-มีเครื่องดนตรีทั้งที่เป็นของเล่นและของจริง เช่น กลอง ฉิ่ง ระนาด ขลุ่ย กรับ เครื่องเคาะจังหวะ ซึ่งเด็กก็จะได้เรียนรู้ภาษาจากเสียงและการร้องเพลงอีกด้วย

มุมประสบการณ์ต่างๆ

ภาพตัวอย่างมุมบล็อก

มุมหนังสือ


มุมบทบาทสมมติ(มุมบ้าน)

มุมวิทยาศาสตร์


สภาพห้องเรียน ด้ามลักษณะของวอลดอร์ฟ จะเห็นว่ามีการตกแต่งด้วยผ้าม่านด้วย
            


มุมรถไฟ


มุมข้าว


ภาษาเด็ก
 เด็กๆกำลังเรียนเรื่องนาฬิกา ทั้งหมดนี้เป็นคำพูดของเด็กที่คุณครูเขียนแล้วแปะไว้รอบห้อง



คำถามของเด็กๆเกี่ยวกับนาฬิกาที่ครูมีหน้าที่เขียน

กิจกรรมที่เด็กๆอยากทำเกี่ยวกับนาฬิกา



ตัวอย่างลายมือ

     ภาพที่อาจารย์ได้เอามาให้ดูในวันนี้เป็นลายมือของรุ่นพี่ ทำให้รู้ว่าการเป็นครูลายมือจะต้องสวยและถูกต้องตามแบบคือต้องหัวกลมและตัวเหลี่ยม



   การคัดลายมือถึงแม้จะเป็นสิ่งที่หน้าเบื่อและไม่ค่อยชอบนักแต่ก็คิดว่าในอนาคตคงเป็นสิ่งที่จำเป็นกับเราจริงๆเพราะยิ่งเรียนครูปฐมวัยก็ยิ่งจะต้องเป็นตัวอย่างที่ดีในการเขียนให้กับเด็ก ฉันคิดว่าคงเป็นเพราะเหตุผลนี้เองที่อาจารย์ต้องการให้พวกเราทุกคนคัด ก-ฮ ในวันนี้

อาจารย์แจกกระดาษให้คัด ก-



ยิ่งอาจารย์บอกว่าถ้าเอาไปส่งในครั้งเดียวแล้วไม่ผิดเลยจะได้ปั๊มก็ยิ่งกดดันมากๆเลยค่ะ อยากได้ปั๊มเลยต้องตั้งใจคัดออกมาให้สวยๆ

 ฉันตั้งใจคัดลายมือมากๆเลยค่ะ มือเกร็งตัวเกร็งไปหมดเพราะไม่ได้คัดมานาน
เพื่อนๆในห้องก็ตั้งใจคัดกันมากๆเลยค่ะ บางคนก็คัดไปบ่นไป ฉันก็เป็นอีกคนหนึ่งที่บ่น



   ส่งแล้วค่ะรอบเดียวผ่านเลย


เสร็จแล้วค่ะ ลายมือที่คิดว่าสวยงามที่สุด ภูมิใจจริงๆ  


การเป็นครูนั้นไม่่ใช่เรื่องง่ายเลย สิ่งที่สำคัญสำหรับฉันคือต้องรู้จักอดทน



การนำความรู้ไปใช้

     ในการคัดลายมือทำให้ได้ฝึกสมาธิอย่างมาก สามารถฝึกคัดลายมือของตนเองให้สวยงามถูกต้องตามหลัก เมื่อจบไปประกอบวิชาชีพก็สามารถเขียนเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเด็กได้ 




ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น